15.6.52

หลักการฝึกซ้อมรับลูกเสริฟ

การรับลูกเสริฟเป็นเทคนิคที่เกิดขึ้นในการแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของทั้งหมดเลยทีเดียว ความสำเร็จของทีมอาจกล่าวได้ว่าขึ้นอยู่กับคุณภาพของการรับลูกเสริฟ หากสามารถรับลูกเสริฟเข้าเป้าหมาย ถือว่าเป็นเทคนิคที่สำคัญที่สุดเทคนิคหนึ่งเลยทีเดียว
คุณภาพของการรับลูกเสริฟจะดีหรือไม่ดี มีปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องแบ่งได้เป็น ปัจจัยภายใน ซึ่งได้แก่ เทคนิคการเล่นส่วนบุคคล รูปแบบการรับ รวมทั้งเรื่องจิตวิทยาส่วนบุคคล และปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมสนามแข่งขัน ผู้ชม คู่แข่ง เป็นต้น ดังนั้นในการออกแบบการฝึกซ้อมของผู้ฝึกสอนจะต้องพยายามให้ครอบคลุมปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ให้มากที่สุด ปัจจัยที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือปัจจัยภายใน










หลักการในการฝึกซ้อมการรับลูกเสริฟ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้


1. เทคนิคการรับส่วนบุคคล


-เทคนิคการรับแบบต่าง ๆ (ดูเทคนิคการรับลูกเสริฟ)


-การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ ในการรับลูกเสริฟ


-ลักษระท่าทางการรับลูกเสริฟที่ถูกต้อง


2. รูปแบบการรับลูกเสริฟ (ดูรูปแบบการรับลูกเสริฟ)
3. จิตวิทยาในการรับลูกเสริฟ





จิตวิทยาการรับลูกเสริฟ
หลายท่านอาจสงสัยว่าเรื่องจิตวิทยามาเกี่ยวข้องกับการรับลูกเสริฟอย่างไร ที่จริงแล้วการรับลูกเสริฟสาพจิตใจ ความมั่นใจเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักกีฬารับลูกเสริฟได้ดีหรือผิดพลาดได้เสมอ เมื่อผู้รับลูกเสริฟตกอยู่ในสภาพความกดดัน เช่น ความกดดันช่วงท้ายเกมส์ ความกดดันที่เกิดจากการรับลูกเสริฟผิดพลาดจนกระทั่งขาดความมั่นใจ แม้กระทั่งสภาพแวดล้ม ผู้ชม ก็สามารถทำให้สภาพจิตใจไม่ปกติหรือที่เราเรียกกันว่าตื่นสนาม ลนลาน ซึ่งจะส่งผลทำให้ระบบการรับของทีมรวนไปได้



สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อลดความกดดัน
1. แสดงพฤติกรรมเชิงบวกเสมอทั้งในการฝึกซ้อมและการแข่งขัน ทั้งผู้ฝึกสอนและนักกีฬา คือไม่กล่าวโทษกันนั่นเอง ผู้ฝึกสอนต้องแนะนำเทคนิคการรับง่ายที่สุดให้แก่ผู้รับลูกเสริฟเมื่อเกิดความผิดพลาด (ผลด้านจิตวิทยา)
2. นักกีฬาในทีมต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ในเรื่องการรับลูกเสริฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เล่นตัวเซ็ตซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเล่นลูกในจังหวะต่อจากนั้น รวมถึงตัวรุกซึ่งเกี่ยวข้องกับผลจากการรับลูกเสริฟโดยตรง
3. ลืมความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผู้เล่นตัวเซ็ตและผู้เล่นตัวรุก ต้องช่วยกันแก้ไขความผิดพลาดของบอลแรกนั้น โดยพยายามใช้ทักษะเล่นลูกนั้นให้ดีที่สุดเพื่อแก้ไขบอลนั้นโดยพยายามไม่ให้เกิดความเสียหาย
4. ผู้ฝึกสอนจะต้องจำลองสถานการณ์ความกดดันในการรับลูกเสริฟ ให้ใกล้เคียงกับการแข่งขันให้มากที่สุดในการฝึกซ้อม เพื่อให้นักกีฬาเกิดความเคยชินและสามารถจัดการกับความกดดันได้


พื้นที่เป้าหมายในการรับลูกเสริฟ (Target Zone)
1. การรับลูกเสริฟที่สมบูรณ์บอลจะอยู่บริเวณพื้นที่การเซ็ตของตัวเซ็ตหน้าตาข่าย (พื้นที่ A)
2. หากไม่สามารถรับบอลให้สมบุรณ์ได้ก็ควรให้อยู่บริเวณในเขตแดนรุก (พื้นที่ B) ผู้เล่นตัวเซ็ตต้องคิดเสมอว่ายังเป็นลูกดีอยู่ เพราะยังสามารถเล่นแผนการรุกได้
2. หากเกิดความไม่มั่นใจในการรับ ควรพยายามรับบอลให้อยู่บริเวณเส้นเขตรุกโดยให้บอลลอยสูงไว้ก่อน (พื้นที่ C)



การลดความกดดันในการรับลูกเสริฟ


- พยายามรับเสริฟให้ดีที่สุดโดยพยายามให้เข้าจุด A


- หากไม่สามารถทำได้ให้คิดว่าจุด B ก็ยังเป็นบอลที่ดีอยู่ตัวเซ็ตสามารถเล่นได้


- หากไม่มั่นใจในการรับลูกเสริฟพยายามรับลูกเสริฟให้ลอยสูงในบริเวณเส้นเขตรุก C บอลก็ยังไม่เสีย
การตั้งเป้าหมายไว้เป็นระดับเช่นนี้จะช่วยลดความกดดันได้ สามารถช่วยพัฒนาการรับลูกเสริฟให้ดียิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น